วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลากัดไทย

เป็นปลาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตาม หนอง คลอง บึงทั่วไป
ขนาดลำตัวบอบบาง ยาวประมาณ 2 ซม. ตัวผู้มีครีบท้องหรือครีบตะเกียบยาว
ครีบก้น ครีบหลัังยาว หากกลมเป็นรูปใบโพธิ์ สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลขุ่นหรือเทา
แกมเขียว ส่วนตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้ มีตจะเกียบสั้น ครีบสั้น หางเล็ก สีตามตัวซีด
และมีเส้นดำ 2 เส้น พาดขนานกลางลำตัวตั้งแต่คอจนถึงโคนหางตรงท้อง
ระหว่างตะเกียบมีจุดไข่สีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ 1 เม็ด ปลาชนิดนี้มีนิสัยว่องไว
แต่กัดไม่ทนสู้ลูกหม้อไม่ได้...ดูรูปปลากัดลูกทุ่ง***คลิก


ปลากัดไทย ปลากัดหม้อ

รูปปลากัดหม้อ
เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะนอกจากจะกัดเก่ง ทรหดอดทนแล้ว ยังมีสีสัน
ตามลำตัวสวยงาม เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม สีน้ำตาลเข้ม เป็นต้น ปลากัด
หม้อจะมีลักษณะตัวโตกว่าปลากัดป่าหรือปลากัดลูกทุ่ง แต่ครีบหางครีบหลังจะ
สั้นกว่า หางสั้นเป็นรูปพัดไม่ค่อยตื่นตกใจง่าย ส่วนตัวเมียครีบหางครีบหลังและ
ตะเกียบสั้น สีซีดกว่าตัวผู้ ปลากัดหม้อเกิดจากการคัดสายพันธุ์ลูกทุ่งลูกป่า จับ
มาเลี้ยงมาฝึกให้ต่อสู้และอดทน ผสมพันธุ์กันจนได้สายพันธุ์ใหม่กันขึ้นมา
ว่ากันว่าต้องใช้ระยะเวลาหลายชั่วอายุคน...ดูรูปปลากัดหม้อ***คลิก

ปลากัดจีน

เกิดจากการผสมเทียมและพัฒนาสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ขึ้นมามีสีสันสวยงาม
ฉูดฉาด เช่น สีเขียว สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน สีขาว ฯลฯ มีครีบหางครีบหลังและ
ตะเกียบยาวเป็นพวง นิยมเลี้ยงกันเพื่อความสวยงามไม่นิยมให้กัดกัน เพราะำม่มี
ความว่องไวในการต่อสู้ ปลากัดจีนในปัจจุบันจะเน้นเฉพาะความสวยงาม
...ดูรูปปลากัดจีน***คลิก
ปลากัดเขมร

เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเช่นเดียวกับปลากัดจีน เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศ
เป็นอันดับต้นๆ เพราะมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้กับผู้เลี้ยง

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัดการ เลี้ยงพ่อพันธ์ปลากัดไทย

เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบต่อสู้
เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5-2 เดือนการเลี้ยงปลากัด
จึงจำเป็นต้องรับแยกปลากัด เลี้ยงในภาชนะ เช่น ขวดแบน
เพียงตัวเดียวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กันหากแยก
ปลาช้าเกินไปปลาอาจจะ บอบช้ำไม่แข็งแรง หรือพิการได้
ปลาจะกัดกันเอง ควรจะแยกปลากัดเลี้ยงเดี่ยวๆ
ทันทีที่สามารถแยกเพษได้ เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ
1.5-2 เดือน จะสังเกตเห็น ว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม
ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นได้ชัดเจน และขนาด
มักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง
มีลายพาดตามความยาวของ ลำตัว 2 -3 แถบ และมักจะมี
ขนาดเล็กว่าปลาเพศผู้ เพื่อไม่ให้ปลากัดเกิดความเสีย
หายหรือบอบซ้ำ ควรทำการแยกปลากัดก่อน ซึ่งการดู
เพศปลากัดต้องใช้การสังเกต ดังนี้

1.ดูสี ตัวผู้จะมีสีเข้มกว่าตัวเมีย แต่ลายบยลำตัวเห็นได้ชัดเจน
ส่วนตัวเมียจะมีสีั ซีดจาง มีลายพาดตามความยาวของลำตัว
2-3 แถบ การดูสีนี้จะดูได้อย่างชัดเจน ยิ่งขึ้นเมื่อปลากัด
ีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
2. ดูครีบและกระโดงปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่า
ของตัวเมียมีกระโดง ยาวไปจรดหาง ส่วนกระโดงของ
ตัวเมียจะสั้่นกว่ามาก
3. ดูไข่นำ ซึ่งเป็นจุดขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย
สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนและ จุดๆ นี้คือท่อนำไข่
4. ดูปาก ถ้าลูกปลาตัวใดมีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่า
ลูกปลากัดตัวนั้นเป็นตัวผู้ ซึ่ง เริ่มสังเกตเห็นได้่ตั้งแต่ปลากัด
มีอายุน้อยๆ ประมาณ 20 วันขึ้นไป
5. ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีขนาดลำตัวโตกว่าปลาตัวเมีย
แม้มีอายุเท่าๆ กัน และเมื่อทำการแยกเพศปลากัดแล้ว
จึงนำปลากัดไปเลี้ยงไว้ในภาชนะทีเตรียมไว้ภาชนะที่
เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลากัดได้แก่ขวดสุรา
ชนิดแบน บรรจุน้ำได้ 150ซีซีเพราะสามารถหา
ได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการสั่งทำขวด
พิเศษสามารถวางเรียงกันได้เป็นจำนวนมากไม สิ้น
เปลืองพื้นที่ แต่ปัจจุบันการเลี้ยงเชิงพาณิชย์มักจะสั่ง
ทำขวดโหลชนิดพิเศษ เป็นรูปร่างสี่เหลี่ยม บ้างก็เป็น
ขวดกลมใหญ่เพื่อเป็นการโชว์ปลากัด แต่ละประเภท
หรือแต่ละสายพันธุ์ ได้อย่างชัดเจน เมื่อนำไปวางจำหน่าย
ในท้องตลาด อ่านต่อคลิก....

ปลาหางนกยูงกับการเพาะเลี้ยง

ปลาหางนกยูง ที่เรารู้จักกัน ไม่ได้เป็นเพียงปลาตัวน้อยในอ่างบัวแต่อย่างเดียว แต่มันยังสามารถ สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ ให้กับคุณได้แบบทวีคูณอีกด้วย

ปลาหางนกยูง ในปัจจุบันมีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งที่เราเห็นส่วนใหญ่ตกราคาคู่ละ 15 บาทก็จะเป็นสายพันธุ์โมเสค ที่มีหางลายโบกสะพัดสีสันสดใส และที่มีราคาแพงขึ้นมาเรื่อยๆ ก็จะเป็นสายพันธุ์ Snake skin จะมีลายที่ละเอียดกว่าและหางมีความใหญ่สวยงาม Red Albino มีสีแดงสวยสดใส โดยเฉพาะดวงตาเป็นสีแดงที่เป็นลักษณะของปลาเผือก และที่แพงที่สุดจะเป็นเหล่า Moscow black คู่ละกว่า 1,500 บาท เป็นปลาหางยกยูงสีดำสนิท
ปลาหางนกยูง บลูกลาส Bluegrass Guppy
แต่เวลาว่ายน้ำ จะมีเหลือบสีน้ำเงินตามเกล็ด ส่องประกายความสวยงามออกมา ทั้งนี้ ราคาของปลาหางนกยูง จะถูกกำหนดที่สายพันธ์ ความนิยม และรูปร่างของปลาหางนกยูงชนิดนั้นๆ อย่างเช่น มี fin ครีบเป็นกระโดงสูง มี swallow ครีบใต้ท้องยาวสวยงามคล้ายปลาเทวดา หางเป็นใบพัดใหญ่ เอวคอด และถ้าเป็นปลาที่มีตาแดงแล้วก็จะมีราคาสูงขึ้นไปอีก
ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยที่ค่อนข้างเหมาะสมกับ การเลี้ยงปลาหางนกยูงอยู่แล้ว ทำให้การขยายพันธุ์เกิดขึ้นได้ดี และใช้เวลาไม่นานมาก ที่สำคัญใช้เวลาไม่เยอะเหมาะสำหรับคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนอีกด้วย เรามาศึกษาขั้นตอนการเลี้ยงเลยดีกว่าเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา

เลือกสายพันธุ์ปลาหางนกยูง ที่ตลาดต้องการ

คุณสามารถหารายละเอียดการตลาดได้ที่ thaiguppy.com ที่มีปลาสายพันธุ์สวยๆ มากมายให้คุณได้ดูกระแสของปลาด้วย เราขอแนะนำปลาที่ราคาไม่แพงและขายได้เรื่อยๆ อย่าง red albino , Blue grass , Blue Topaz เป็นต้น คุณอาจจะลองซื้อมาสักสองคู่ โดยคิดสนนราคารวมค่ารถไปซื้อแล้วไม่เกิน 1,000 บาท

เตรียมสถานที่ในการเลี้ยง ปลาหางนกยูง

การเลี้ยงปลาหางนกยูงนั้นไม่สามารถเลี้ยงรวมสายพันธุ์กันได้ ต้องแยกสายพันธุ์ใครสายพันธุ์มัน โดยขอแนะนำให้เลี้ยงในกะละมัง เพราะน้ำหนักเบาราคาถูกโยกย้ายได้ง่ายกว่า ขนาดประมาณ 16 นิ้วเลี้ยงได้ประมาณ 2 คู่เน้นขนาดตัวเล็กถือว่าเป็นปลารุ่น นอกจากนั้นออกซิเจนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ปลาแข็งแรง ให้คุณต่อออกซิเจนมาวางไว้ตรงกลางอ่างเปิดให้เบาๆ พอมีน้ำผุดก็พอ เนื่องจากปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เล่นน้ำ หากคุณเอาวางไว้ริมๆ อ่างแล้วปลาหางนกยูงกระโดดเล่นน้ำ อาจจะตกออกมานอกอ่างได้ เป็นการฆ่าตัวตายที่ไม่ได้ตั้งใจจริงๆ
นอกจากนั้นคุณต้องเลี้ยงนอกบ้านให้มีลมพัดผ่าน เพราะลมจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำในอ่าง และต้องมีหลังคา เลี้ยงในร่ม ปลาจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าด้วย ที่สำคัญให้คุณใส่ตะกร้าพลาสติกเล็กๆ ไว้ในอ่างพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพราะคุณไม่รู้แน่ว่าลูกปลาจะออกมาเมื่อไร และปลาหางนกยูงเป็นปลาที่กินลูก ดังนั้นเมื่อลูกปลาออกมาแล้วก็จะว่ายหนีเข้าไปในตะกร้าพลาสติก คุณจะช้อนแยกไปไว้อ่างอื่นได้อย่างสบายๆ

อาหารเร่งโตของ ปลาหางนกยูง

อาหารที่ดีที่สุดคือของสด อย่างเช่น ลูกน้ำ ไรทะเล ไส้เดือนแดง เป็นต้น อาหารสดเหล่านี้คุณสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอาหารปลา และคุณควรนำมาล้างด้วยด่างทับทิมเสียก่อนเพื่อฆ่าเชื้อ ไม่อย่างนั้นปลาคุณอาจขึ้นสวรรค์ในเวลาอันรวดเร็ว
ส่วนคนที่ไม่มีเวลาไปซื้อของสดมากนั้น ขอแนะนำอาหารปลาที่ชื่อว่า อาหารปลาฮิการิ แต่มีราคาแพงซองละประมาณ 100 บาท ควรซื้อติดไว้ใช้ยามจำเป็นการพอ หรือคุณอาจจะซื้ออาหารสดก็ได้ แต่แช่ตู้เย็นไว้ในช่องแช่ผักด้านล่างให้ไรมันช๊อค ถ้าจะให้ปลาค่อยรินออกมาล้างและใช้ได้ทันที มันจะยังมีชีวิตอยู่
แต่อาหารที่ดีที่สุดคืออาร์ทีเมีย เป็นไข่ไรทะเลขนาดเล็กที่คุณจะต้องใส่ในน้ำเกลือสมุทร และเอาอ๊อกซิเจนใส่ลงไปเพื่อให้ไข่ฝักออกมาเป็นตัวเป็นเวลาวันครึ่ง จากนั้นเอาออกซิเจนออกเปลือกไข่จะลอยตัวขึ้นตัวไรทะเลเล็กๆ ที่เพิ่งเกิดจะแยกชั้นไปอยู่ที่ก้นขวด และนำไปให้ปลากินได้ ปลาจะให้สีที่สวยมากๆ และลูกปลาก็จะโตเร็วมากอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน แต่อาร์ทีเมียกระป๋องละประมาณ 700 บาท ซึ่งถือว่าสูงทีเดียว
ทั้งนี้หลักการให้อาหารปลาคุณควรให้แค่วันละ 1-2 ครั้งพอ และควรให้แต่น้อย เพราะอัตราปลาอดตาย จะน้อยกว่าปลาที่ตายเพราะน้ำเน่ามากมาย ทีเดียว

การขยายพันธุ์ปลาหางนกยูง ทำกำไร

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ออกลูกเยอะเฉลี่ยเดือนละ 22-30 ตัว และแม่ปลาจะมีไข่อยู่ในท้องตลอดเวลา คุณจะสังเกตได้ถ้าปลาท้องแก่เมื่อใด จะมีจุดสีดำๆ แน่นที่ท้อง แต่ถ้าเป็นปลาตาแดงก็จะมีจุดสีแดงๆ ที่ท้องแทน เมื่อลูกปลาออกมาแล้วเราแยกอ่างเพาะเลี้ยงไปเรื่อยๆ โดยคัดไซส์เลี้ยงให้ไล่เลี่ยกันและแยกสายพันธุ์เหมือนเดิม ประมาณ 2 เดือนก็เป็นปลารุ่นที่พร้อมขายได้แล้ว ซึ่งคุณก็จะมีขายทุกเดือนเนื่องจากจากปลารุ่นน้องก็จะทยอยออกมาอีก แต่คุณต้องสลับเปลี่ยนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์บ้าง เพื่อป้องกันสายเลือดชิด
ในด้านของการตลาดมักจะเป็นในต่างประเทศ อย่างเช่น อเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลี หรือพ่อค้าคนกลางในประเทศ คุณสามารถขายในเว็บและจัดส่งในระบบชิปปิ้งได้ทันที เรียกว่าคุณซื้อปลามาแค่สองคู่ราคา 1,000 บาท แต่คุณสามารถขายได้เดือนละประมาณ 11 คู่ หากคุณขายคู่ละ 500 บาท คุณก็จะได้กำไร 5,500 บาทต่อเดือน ตัดค่าอาหารปลา ค่าไฟ และอุปกรณ์อื่นๆ ไปที่ลงทุนคราวแรก ก็จะเหลือประมาณ 4,000 บาทต่อเดือน และหากคุณไม่ได้เลี้ยงแค่สองคู่ จำนวนลูกปลาก็จะขยายเพิ่มไปอีก
แต่ก่อนที่ลงทุนทุกครั้ง คุณต้องศึกษาดีๆ คำนวณสภาพบ้านและที่อยู่อาศัยว่า พอจะเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูงได้หรือไม่ เนื่องจากความถนัดของคนเราต่างกัน แต่หากคุณชอบเลี้ยงสัตว์และเคยเลี้ยงปลามาก่อน ปลาหางนกยูงถือว่าเป็นปลาสวยงามที่กำลังไปได้ดีเลยทีเดียว แม้คนที่มีงานประจำก็ทำได้